วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วิธีติดตั้ง Office2010
1.ใส่แผ่นOffice2010ที่ต้องการจะติดตั้ง
2.เข้าโฟล์เดอร์ Office2010 แล้วกดตัว Setup
3.กด ยอมรับเงื่อนไขในการใช้งาน แล้วกด Continue
4.ถึงหน้านี้จะมีให้เลือก Install กับ Customize *หมายเหตุ Install คือการลงแบบFull ส่วน Customize คือ การกำหนดค่าการลงเอง
5.เมื่อเลือกแบบการติดตั้งแล้วให้รอจนกว่าจะติดตั้งจะเสร็จ
6.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็สามารถใช้งานได้ปกติ
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วิธีการลง Windows 7 Ultimate
1. เมื่อทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่นดีวีดี Windows Setup จะได้หน้าจอ Windows is loading files และ Starting Windows ให้รอจนระบบทำงานแล้วเสร็จ
2. ในหน้าต่าง Install Windows ให้เลือกภาษาที่ต้องการ และตั้งค่าอื่นๆ ตามความต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
ในที่นี้เลือก:Language to install: English
Time and currency format: English (United States)
Keyboard or input method: US
3. ในหน้าต่างถัดไปให้คลิก Install Now เพื่อทำเริ่มการติดตั้ง Windows 7
4. ในหน้า Select the operating system you want to install ให้เลือก Windows 7 Home Basic เสร็จแล้วคลิก Next
5. ในหน้าต่าง Please read the license terms ให้อ่าน License Terms เสร็จแล้ว ให้คลิกเช็คบ็อกซ์ I accept the license terms จากนั้นคลิก Next เพื่อไปยังหน้าถัดไป
6. ในหน้าต่าง Which type of installation do you want? ให้เลือกเป็น Custom (Advanced)
7. ในหน้าต่าง Where do you want to install Windows? ให้เลือก Hard Disk หรือ Partition ที่ต้องการติดตั้ง เสร็จแล้วคลิก Next
8. ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows โดยจะดำเนินการต่างๆ ดังนี้ คือ Copying Windows files, Expanding Windows files, Installing features และ Installing updates
หลังจากทำการติดตั้งขั้นตอน Installing updates
9. หลังจากรีสตาร์ทก็จะทำการเตรียมระบบ
10. ในหน้า Type your Windows product key ให้ใส่หมายเลขโปรดักส์คีย์ (ขั้นตอนนี้เป็นอ็อปชันไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้) เสร็จแล้วคลิก Next
11. ในหน้าต่าง Help protect your computer and improve Windows automatically ให้เลือก Use recommended settings หรือ Install inportant updates only หรือ Ask me later ในที่นี้เลือกหัวข้อหลัง
12. ในหน้าต่าง Review your time and date settings ให้ทำการตั้ง Time Zone ให้ตรงพื้นที่ใช้งาน และตั้ง Date และ Time ให้ตรงกับวัน-เวลาจริง เสร็จแล้วคลิก Next
13. ในหน้าต่าง Select your computer's current location ให้เลือกเป็น Home network หรือ Work network หรือ Public network
14. วินโดวส์จะทำการจัดเตรียมระบบตามการตั้งค่าต่างๆ ที่กำหนดในขั้นตอนด้านบน เมื่อเสร็จแล้วก็จะได้หน้า Desktop
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
หลักการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรนเดอร์ หรือการให้แสงและเงา (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ
วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น
ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น
อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล
หลักการสร้างงานกราฟิก
ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเรนเดอร์ หรือการให้แสงและเงา (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ
วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น
ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น
อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล
หลักการสร้างงานกราฟิก
1. การกำหนดพื้นหลังของภาพ
เป็นการกำหนดภาพ หรือสีพื้นหลัง โดยภาพหรือสีพื้นหลังที่ใช้นั้นควรมีโทนสีให้อารมณ์และสื่อความหมายได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของชิ้นงาน
เป็นการกำหนดภาพ หรือสีพื้นหลัง โดยภาพหรือสีพื้นหลังที่ใช้นั้นควรมีโทนสีให้อารมณ์และสื่อความหมายได้ถูกต้องตามจุดประสงค์ของชิ้นงาน
2. การเลือกพื้นที่ภาพที่ใช้งาน
เป็นการตัด หรือคัดลอกบางส่วนของภาพต่างๆ ที่เราจะนำมาใช้ในชิ้นงานของเรา
เป็นการตัด หรือคัดลอกบางส่วนของภาพต่างๆ ที่เราจะนำมาใช้ในชิ้นงานของเรา
3. การจัดวางภาพให้เหมาะสมการนำภาพส่วนประกอบมารวมกันเป็นชิ้นงาน อาจมีบางภาพที่มีขนาดและมุมการจัดวางไม่ลงตัว เราก็สามารถขยาย หมุน และบิดภาพให้เข้ากัน
4. การใส่ข้อความ
เป็นการใส่ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง หรือคำบรรยายต่างๆ เข้าไปตกแต่งเพิ่มเติม
เป็นการใส่ข้อความที่เป็นชื่อเรื่อง หรือคำบรรยายต่างๆ เข้าไปตกแต่งเพิ่มเติม
5. การนำภาพส่วนประกอบมาจัดซ้อนกัน
การนำภาพส่วนประกอบที่เลือกไว้มาทำการซ้อนกัน โดยบางส่วนอาจจะอยู่ด้านบน หรือด้านล่างตามจุดประสงค์ที่วางไว้
การนำภาพส่วนประกอบที่เลือกไว้มาทำการซ้อนกัน โดยบางส่วนอาจจะอยู่ด้านบน หรือด้านล่างตามจุดประสงค์ที่วางไว้
6. ตกแต่งทุกส่วนประกอบเข้ากันอย่างกลมกลืน
สุดท้ายจะพิจารณาภาพรวมชิ้นงานที่ได้ และปรับแต่งรายละเอียดของภาพประกอบแต่ละส่วนให้ดูกลมกลืนกัน เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
สุดท้ายจะพิจารณาภาพรวมชิ้นงานที่ได้ และปรับแต่งรายละเอียดของภาพประกอบแต่ละส่วนให้ดูกลมกลืนกัน เพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. ใช้แสดงผลงานด้วยภาพแทนการแสดงด้วยข้อความ ซึ่งช่วยให้เข้าใจได้ง่าย และน่าสนใจมากกว่า
2. ใช้แสดงแผนที่ แผนผัง และภาพของสิ่งต่างๆ ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่สามารถแสดงในลักษณะอื่นได้
3. ใช้ในการออกแบทางด้านต่างๆ เช่น ออกแบบบ้าน รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า
4. ได้มีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยทางการด้านเรียนการสอน โดยเฉพาะในวิชาที่ต้องใช้ภาพ
5. คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อหาคำตอบว่า ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
6. คอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถนำมาสร้างภาพนิ่ง ภาพสไลด์ ภาพยนต์ และรายการวิดีโอ
7. คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีผู้รู้จัก และนิยมใช้กันมากคงจะได้แก่ เกมส์คอมพิวเตอร์
แหล่งอ้างอิง http://cp101km.swu.ac.th
วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
DataBase
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข ข้อความ และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า DBMS
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)